Future of Transportation

Nopphorn Danchainam
3 min readFeb 13, 2020
transportation in megacity

โลกกำลังอยู่ในอัตราเร่งของการขยายตัวของประชากร คนส่วนใหญ่มุ่งหน้าที่จะใช้ชีวิตและอาศัยอยู่ในตัวเมือง(Urban) ทำให้เมืองมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นมหานคร(Mega City/Metropolis) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการอาศัยอยู่ในตัวเมือง ก่อให้เกิดความมั่งคั่ง อาชีพทำงาน คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแบ่งปันทรัพยากรในเมือง(Infrastructure) ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่า

จุดสำคัญของการอาศัยอยู่ในเมือง คือ ความสามารถในการเคลื่อนย้ายผู้คน สิ่งของ บริการ ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและสะดวก อนาคตของการคมนาคม ขนส่งมวลชนคือหัวใจของการเจริญเติบโตของชาติ ตัวอย่างกรุงเทพอย่างที่เราเห็นกันทุกวันจนชิน ไม่ว่าจะเรื่องของการวางผังเมือง การเดินทางในหลายรูปแบบที่คนกรุงเทพต้องเจอ ทั้งมอเตอร์ไซ รถเมล์ เรือ รถไฟฟ้า แท็กซี่ ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 เวลาที่ใช้ในการเดินทางสัญจร การหาที่จอดรถ ฯลฯ ปัญหานี้เป็นความท้าทายของทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนที่จะต้องร่วมมือกันแก้ไข พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน อย่างเช่นความนิยมในการใช้บริการ Car sharing หรือ Mobility as a Service รวมถึงการเพิ่มความสะดวกและประสบการณ์ใช้บริการขนส่งมลชน รถไฟฟ้า รถเมล์ ให้มากยิ่งขึ้นโดยใช้ technology เข้ามาช่วย ทั้งระบบชำระเงิน ระบบตั๋ว ข้อมูลบุคคล การเดินทางต่าง ๆ นำเอามาผสานใช้ในการวางแผนผังเมือง นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และสร้างประสบการณ์ให้คนที่อยู่อาศัยในเมือง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยั่งยืน

The Future of Transportation: Mobility in the Age of the Megacity

World Population ประชากรโลก

ปัจจุบันโลกมีประชาชนมากกว่า 7.6 พันล้านคน และมีเด็กเกิดใหม่ปีละมากกว่า 83 ล้านคน ด้วยอัตราการเติบโตนี้ โลกจะมีประชากรมากกว่า 8.6 พันล้านคนในปี 2030 และกลายเป็น 9.8 พันล้านในปี 2050

world population

แล้วคนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองมากกว่า 4.2 พันล้านคนในขณะที่ 3.4 พันล้านอาศัยอยู่ในชนบท และ UN คาดการว่าตัวเลขของคนที่อาศัยอยู่ในชนบทจะลดลงเหลือ 3.1 พันล้านคนในปี 2050 และด้วยอัตราเร่งปัจจุบัน 55% ของประชากรบนโลกอาศัยอยู่ในเมือง จะเพิ่มสูงกลายเป็น 68% ภายในปี 2050

เหตุผลการเพิ่มขึ้นของประชากรในเมืองหลวง เกิดจากหลายปัจจัยขึ้นอยู่กับสภาพสังคมในแต่ละประเทศ ตัวแปรสำคัญคือจำนวนอาชีพที่มีมากกว่า ความมั่งคั่งและโอกาสที่สูงกว่า วัฒนธรรม การศึกษา รวมถึงการเดินทางเพื่อเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่ง่ายกว่าการอยู่ต่างจังหวัด

Rise of megacity การเติบโตและเกิดของมหานคร

ปรากฏการณ์ขยายตัวของเมืองมหานคร จากชนบทสู่เมืองหลวง จำนวนของเมืองที่กลายเป็นเมืองมหานครจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ UN ได้ให้คำนิยามของเมืองที่เรียกว่ามหานครหรือ Megacity ไว้ว่าคือเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 10 ล้านคน ทุก ๆ 1 ใน 8 คนจะเป็นคนที่อาศัยอยู่ใน 33 megacity นั่นรวมถึงกรุงเทพมหานครของคนไทยด้วย และในปี 2030 จะมีเมืองที่เป็นมหานครเพิ่มขึ้นเป็น 43 เมือง และเพิ่มเป็น 50 เมืองในปี 2050 โดยเมืองส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะ Asia และ Africa

rise of megacity

ในคลื่นลูกที่ 2 ของการอพยพเคลื่อนย้ายคนเข้าสู่เมือง ทำให้ความต้องการสร้างเมืองที่มีการวางผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีคุณภาพสามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำนวนของคนเมืองได้อย่างราบรื่นและไม่สะดุด

แต่หลายเมืองได้มีการใช้ทรัพยากรของเมือง ไม่ว่าจะเป็นถนน ระบบขนส่งมลชนจนเกิดความหนาแน่น แออัด จนเกิดความสามารถที่จะรองรับได้ แม้จะมีการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก แต่หลายครั้งก็เป็นการแก้ปัญหาเพียงครั้งคราว ตัวอย่างเช่นโปรเจคสร้างถนนสายหลัก ในเมือง Atlanta USA เพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่เป็นคอควดของเมือง โปรเจคในเวลา 3 ปีในการสร้างถนนเชื่อมต่อที่รองรับรถจำนวน 100,000 คันต่อวัน แต่กลายเป็นมีรถสัญจรผ่านมากกว่า 420,000 คันต่อวัน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกมากกว่า 10 ปีเพื่อสร้างถนนเพิ่มอีก 120 ไมล์เพื่อจะแก้ปัญหารถติด

อนาคตของการพัฒนาขนส่งมวลชน จึงเป็นโครงการที่สำคัญมากและ Technology จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดี โดยเชื่อมต่อเครือข่ายการเดินทางรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันทั้ง รถบัสโดยสาร รถไฟฟ้า รถราง ใต้ดิน มอเตอร์ไซต์หรือแม้แต่ taxi โดยที่ประชาชนยังสามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ ในราคาที่เหมาะสม

Global Consumer Insights

จากข้อมูลงานวิจัยของ VISA พบว่า 44% ของผู้อาศัยอยู่ในเมืองใช้ระบบขนส่งมวลชนในการเดินทางไปทำงาน โรงเรียน มหาลัย ในขณะที่ 54% ใช้การเดินทางส่วนบุคคล และผลวิจัยยังแสดงอีกว่าการเดินทางส่วนบุคคล ใช้ระยะเวลาที่น้อยกว่าการเดินทางด้วยขนส่งมวลชน เฉลี่ยใช้เวลาเดินทางสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง 17 นาที เทียบกับ 3 ชั่วโมง 15 นาที และผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่คิดว่าในอนาคตจะใช้ระยะเวลาเดินทางที่มากกว่าปัจจุบันอันเนื่องมาจากความแออัดที่เพิ่มขึ้นด้วย ผลวิจัยนี้คงใช้กับกรุงเทพไม่ได้แน่นอน ซึ่งจากประสบการณ์ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมากกว่า 10 ปี คนกรุงเทพน่าจะใช้เวลามากกว่าอย่างน้อย 3 เท่าจากค่ามาตรฐานของผลวิจัยนี้

จากการที่เราใช้เวลาในการเดินทางเป็นระยะเวลานาน มีผลกระทบโดยตรงกับคุณภาพชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวง รวมถึงความสุข ความเนื่อยล้า ความพึงพอใจในการอาศัยอยู่ในเมือง

คนใช้ระบบขนส่งสาธารณะต้องการอะไร?

ความสะดวก

จากงานวิจัยแบบสอบถาม VISA ปัญหาใหญ่ที่สุดคือความแออัดของการใช้ขนส่งสาธารณะ ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เมื่อเกิดความแออัดยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ อันตรายแก่ผู้เดินทางได้ ตัวอย่างเคสในลอนดอนผู้ให้บริการรถไฟฟ้าในบางสถานีต้องมีการปิดไม้กั้นเพื่อกัดไม่ให้คนเข้าสถานีในช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อจำกัดจำนวนคน

Focus on the basics

ปัจจัยที่พลักดันให้คนใช้ระบบขนส่งสาธารณะประกอบไปด้วย ความแน่นอนที่คาดการณ์ได้ ความสะอาด ปลอดภัย คุณภาพการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ความสะดวกและระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง

สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะต้องให้ความสำคัญและพัฒนาปรับปรุงบริการเพื่อสร้างประสบการณ์ การเดินทางที่ดีแก่ผู้ใช้

ทำให้ง่าย Make it simple

ปัญหาสำคัญของการใช้ขนส่งสาธารณะ ที่พบได้บ่อยมักจะเกี่ยวกับระบบชำระเงิน คิวและเวลาที่ผู้โดยสารต้องใช้ในการซื้อตั๋ว หรือจ่ายเงินเพื่อใช้บริการที่ไม่สะดวก หลาย ๆ ครั้งที่คนจะเลือกที่จะเดินทางโดยการขับรถเองแทนการที่จะต้องเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะแบบหลายต่อ เช่น การใช้วินมอเตอร์ไซ รถ BTS แล้วต่อด้วย MRT จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะใด ๆ ก็ได้โดยที่ไม่ต้องคิดว่าจะจ่ายเงินอย่างไร

และจะดียิ่งขึ้นไปอีกหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือภาครัฐสามารถเข้าใจ journey ของการเดินทางของเราได้และสามารถช่วยกำหนดเพดาน cap ค่าเดินทางต่อครั้งให้เหมาะสมกับชีวิตคนกรุงได้ เช่น เดินทางหนึ่งครั้งจากบ้านไปที่ทำงาน ไม่ว่าจะเดินทางด้วยบริการสาธารณะใด ๆ รถเมล์ ไฟฟ้า บนดิน ใต้ดิน ค่าใช้จ่ายที่ประชาชนควรจะจ่ายใน 1 journey trip ไม่เกิน 80 บาท ในระยะทางที่เหมาะสม จะทำให้ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และทำให้คนหันมาใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้น ลดการใช้รถส่วนบุคคลน้อยลง ฝุ่นควันที่หายไป ชีวิตในกรุงเทพก็คงจะน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

Technology for Mass Transit

ความรวดเร็วและแน่นอน คือปัจจัยต้น ๆ ของการเลือกเดินทางด้วยขนส่งมวลชน รองจากความปลอดภัย นอกจากนั้นยังมีเรื่องของความสะอาด ระบบรักษาความปลอดภัย ค่าเดินทาง ความสะดวกในการชำระเงินและใช้บริการ ซึ่งเมื่อเราแยกกลุ่มของปัจจัยที่คนเลือกใช้การขนส่ง เรามาดูกันว่าเราจะเอาเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์เพื่อพัฒนาบริการให้ดีขึ้นได้อย่างไร

1. Safety in Urban Environments

Anomaly Detection เราสามารถใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์เช่น ภาพและเสียง ในการตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ได้เช่น ตรวจจับว่ามีใครเกิดการชกต่อยในสถานีรถไฟฟ้า หรือตรวจสอบว่ามีบุคคลพฤติกรรมน่าสงสัย เดินตามในที่จอดรถตอนกลางคืน และส่งข้อมูลเหล่านี้ไปให้ตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว การทำ anomaly detection อาจจะไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่มีคนหนาแน่นมาก ๆ เพราะอาจจะเกิดความผิดพลาดหรือ false alarm ได้ง่าย

Video Content Analytics ทำงานร่วมกับ blockchain เพื่อสร้าง หลักฐาน chain of evidence โดยใช้ภาพจาก CCTV เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เก็บภาพเข้ารหัส hash เอาไว้ใน blockchain เพื่อออกรายงานและผูกหลักฐานภาพ digital footage เอาไว้ด้วยกันเพื่อใช้เป็นหลักฐานต่อไป

Crime Sensing ผ่าน Big Data อย่าง facebook/twitter โดยสังเกตุจากข้อมูลที่เกิดขึ้นบนโลก social media เช่นหากมีคนโพสภาพอาชญากรรมหรือเหตุร้าย ที่เกิดขึ้นแล้วสามารถ notify ให้ผู้เกี่ยวข้องในการรับมือ รับทราบได้อย่างทันท่วงที

Automated Facial Recognition ระบบตรวจจับใบหน้าอัตโนมัติ AFR เพื่อใช้ในการยืนยันตัวบุคคล และป้องกันเหตุภัยร้ายที่จะเกิดขึ้น เช่นข้อมูลใบหน้าผู้ร้ายหรือมีหมายจับที่สามารถ detect ได้อัตโนมัติเมื่อบุคคลนั้น ๆ โพล่มาในสถานที่สาธารณะเช่น สนามบิน รถไฟ คอนเสิร์ต ฯลฯ เทคโนโลยี AFR นี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงมากในเมืองจีนและมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย

Automatic License Plate Recognition ระบบตรวจจับป้ายทะเบียนยานพาหนะอัตโนมัติ ALPR ค่อนข้างแพร่หลายโดยใช้เทคโนโลยี OCR ในการการป้ายทะเบียนเพื่อตรวจสอบรถ การเข้า ออก สถานที่ บันทึกเวลา รวมไปถึงการจ่ายเงินค่าผ่านทาง หรือค่าที่จอดรถ เช่นใน Stockholm, Sweden

2. Making Cities Cleaner

ใช้ sensor ตรวจจับถังขยะที่ล้นหรือใกล้เต็ม ตัวอย่างเช่นบริษัท Nordsense ใน San Francisco เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บขยะและสามารถช่วยลดปัญหาถังขยะเต็มได้มากกว่า 80% และลดการร้องขอให้เทศบาลทำความสะอาดถนนได้มากกว่า 66%

แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรในการทำความสะอาด รถไฟฟ้า รถเมล์ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ตัวอย่างเช่นบริษัท Vogelsang ที่ขายระบบ CleanUnit เป็นตู้ที่เก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดในรถไฟ รถเมล์ รวมถึงระบบทำความสะอาดห้องน้ำอัตโนมัติ ด้วยหุ่นยนต์และ AI

3. Efficiency, Reliabilities and Overcrowding

ความสะดวก รวดเร็วคือหัวใจของการเลือกเดินทางด้วย Mass Transit และขณะเดียวกันปัญหาความหนาแน่นของคนใช้ก็เป็น pain point สำคัญที่ต้องแก้ไข เทคโนโลยีที่สามารถหา insight ของการเคลื่อนไหวมวลชน จะช่วยทำให้การวางแผน การเดินทาง ลดระยะเวลาเดินทางจาก A ไป B และลดปัญหาสเถียรภาพระบบ เช่นการ delay หรือระบบล่ม ได้

Waiting Times เราสามารถลดระยะเวลารถเมล์ ผ่าน GPS/LBS Tracking และใช้โปรแกรมบนมือถือ ที่สามารถตรวจสอบตำแหน่งของรถเมล์ ประเมินระยะเวลารอรถและความหนาแน่นของรถเมล์ ช่วยทำให้คนใช้รถสาธารณะ ลดเวลารถจาก 9 นาทีเหลือเพียง 3 นาทีได้ รวมถึงพฤติกรรมของผู้ใช้และเส้นทางที่ใช้ในการเดินทาง สถานีต้นทาง ปลายทาง สร้าง algorithm predict หาความหนาแน่นของการเดินทางและให้คำแนะนำวิธีการเดินที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้

Smart Card and Trip Planning ด้วยการที่เราสามารถระบุตัวตนของผู้ใช้ขนส่งมวลชนได้ผ่านทางเทคโนโลยีมือถือหรือ Smart Card เราสามารถเข้าใจ พฤติกรรมการเดินทาง ช่วงเวลาที่เดินทาง สถานีต้นทาง ปลายทางได้ กรณีหากเกิดปัญหาระบบเดินทางที่ใช้อยู่ไม่สามารถให้บริการได้ (Disrupt, Maintenance) ผู้ให้บริการขนส่งมวลชน Transit Operator เองสามารถ แจ้งล่วงหน้าให้แก่ผู้ใช้ทราบได้ เพื่อวางแผนการเดินทางก่อน แทนที่จะเสียเวลาทำให้เกิดความแออันที่สถานี หรือบริเวณโดยรอบ

Make it Easy, Safe and Transparent to Pay การจะเดินทางจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้โดยสารต้องการมากคือความง่ายในการชำระเงิน ตั้งแต่การคิดว่าจะวางแผนการเดินทางอย่างไร Trip Planning ไปจนถึงการชำระเงิน เพราะการเดินทางมีหลายรูปแบบ mode of transportation ไปจนถึงโครงสร้างราคา ทำให้การชำระเงินมีความยาก ซับซ้อน หากสามารถใช้มือถือในการวางแผนการเดินทางได้ รวมถึงการชำระเงิน เช่นใช้ NFC/QR บนมือถือแตะที่ประตูหรือเครื่องจ่ายเงิน แทนการหยอดเหรียญหรือใช้บัตร และสามารถเลือกที่จะจ่ายด้วยบัตร debit หรือ credit ก็ได้ จะสร้างความสะดวกให้แก่ผู้ใช้มากยิ่งขึ้น

สุดท้ายการที่จะทำให้คนหันมาเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะมากขึ้นนั้น ต้องการความร่วมมือจากทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาครัฐ และผู้ให้บริการขนส่ง ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบาย วางแผนและให้บริการ สิ่งสำคัญที่อยากจะฝากทิ้งท้ายไว้คือ

Passengers come first

ประโยชน์ที่ผู้ใช้บริการ”

ขอแค่ทุกคนที่เกี่ยวข้องในการให้บริการขนส่งมวลชนและภาครัฐ มุ่งเน้นประโยชน์ของผู้ใช้บริการเป็นหลัก มากกว่าประโยชน์เรื่องอื่น เน้นประสิทธิภาพและคุณภาพการบริการที่ดีขึ้นในทุก ๆ เดือน ทุก ๆ ปี อนาคตเราต้องการคุณภาพชีวิตการเดินทาง ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแน่นอน

--

--

Nopphorn Danchainam

Working each and everyday to help other growth their business